บายศรีปากชาม แบบที่ 2
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้ชม 1,369
[16.3858304, 99.5097984, บายศรีปากชาม แบบที่ 2]
ข้อมูลทั่วไป
ลักษณะ ดอกไม้ที่หากจะนำมาตกแต่งตัวบายศรีต้องเป็นดอกไม้ที่สีสันสดใส สวยงามและชื่อว่าต้องเป็นดอกไม้มงคล เช่น ดอกบัว ดอกดาวเรือง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้พานบายศรีปากชาม 7 ชั้นหรือ 9 ชั้น โดยมีการจัดวางเป็นคู่ ๆ ทั้งหมด 3 คู่ มีเครื่องเซ่นไหว้อยู่ 3 สำรับ ส่วนการจะลดลงของสำรับหรือไม่ก็ต้องขึ้นกับว่าโรงพิธีมีขนาดเท่าไหร่ เพียงพอต่อการจัดพิธีได้อย่างไรบ้าง
การใช้งาน พานบายศรีปากชามนั้นมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้หลายพิธีเลย เช่น ใช้ในพิธีการไหว้ครู ใช้ในพิธีที่ต้องการบรวงสรวง หรือมีการบูชาเซ่นไหว้เทวดาองค์รักษ์ พิธีการฉลองต่าง ๆ หรือที่มักเอาไว้ทำการบายศรีสู่ขวัญก่อนจะมีการแสดงครั้งใหญ่นั่นเอง โดยที่ก่อนจะมีการแสดงครั้งใหญ่และมีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญกันนั้นก็ต้องมีการเตรียมบายศรีปากชาม เครื่องเซ่นไหว้ให้เพียบพร้อม แล้วจึงอัญเชิญครูทั้งหลายมาร่วมกันอวยพรนำชัยให้มีแต่ความโชคดีมาเข้าข้างแก่เรา โดยมีทั้งพระปฐมครู บิดามารดา คู่สวดอุปัชฌาย์ ครูอาจารย์ที่ได้มอบวิชาความรู้แก่เรา ท้าวมหาพรหม บรมมหา เทวราช แล้วก็ยังมีอีกมากมาย
วัสดุ-อุปกรณ์
- ใบตอง ดอกรัก
- เข็มเย็บใบตอง ดอกพุด
- ด้าย กุหลาบ
- กรรไกร กล้วยน้ำว้า
- แม็ก
วิธีการทำ
1-2. ม้วนกรวยใบตอง
3.เสร็จแล้วใช้แม็กเย็บให้แน่น และฉีกใบตองวามกว้าง 1.5 นิ้วเตรียมไว้
4-10. นำใบตองที่เตรียมไว้มาห่มทีละชั้นให้ได้ 5 ชั้น เป็นตัวบายศรี
- ตัดใบตองเป็นลักษณะแบบกลีบบัว
- พับใบตองเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า
- นำสามเหลี่ยมที่ได้สวมปลายแบบกลีบบัว เตรียมไว้เพื่อทำตัวสามเหลี่ยมมาซ้อน
- พับใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบใบตองชนกัน
- พับครึ่งอีกครั้งหนึ่งให้ขอบสามเหลี่ยมเสมอกัน
16-17. นำใบตองที่พับไว้มาใส่ด้านข้างของแบบกลีบบัวตามลำดับใช้เข็มเย็บติดกัน
18-20. เย็บใบตองทีละด้านเริ่มจากขวามาซ้ายจนเต็มแบบกลีบบัว
21-22. ตัดแบบกลีบบัวอีกชิ้นหนึ่งวางปิดตกแต่งให้ด้านบน แล้วเย็บติดให้สวยงาม
23-24. ม้วนใบต้องเป็นรูปกรวย
- เตรียมกรวย 1 อัน ตัวแมงดา 3 ตัว บายศรี 3 ตัว มาลัยตุ้ม 1 พวง กล้วยน้ำว้า ข้าวสุกและถ้วยแก้ว
26-27. วางกรวยบายศรีตรงกลางถ้วย วางตัวบายศรีไว้ด้านข้าง 3 ด้าน
28-30. วางตัวแมงดาคั่นระหว่างบายศรี และใส่กล้วยตกแต่งดอกไม้มาลัย
คำสำคัญ : บายศรี
ที่มา : 253/1 หมู่ 1
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นักศึกาษา รหัส 5912206
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1097&code_db=DB0019&code_type=002
บายศรีปากชาม แบบที่ 3
บายศรีปากชามค่อนข้างจะเป็นบายศรีที่มีความสำคัญมากเลยล่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วบายศรีประเภทอื่น ๆ ก็มักจะมีแม่แบบมาจากตัวบายศรีปากชามเลย หรือจะให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ตัวบายศรีปากชามนั้นเป็นแม่แบบให้แก่บายศรีอื่น ๆ นั่นเอง โดยตัวบายศรีปากชามมักจะถูกล้อมรอบไปด้วยใบตองจับจีบเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตกแต่งอยู่รอบ ๆ มีกรวยใบตองม้วนตั้งอยู่บนกลางองค์บายศรี บนยอดกรวยเองก็มีไข่ต้มและดอกไม้ประดับประดาอยู่เต็ม ภายในกรวยม้วนเองนั้นก็มีการบรรจุข้าวตอกและดอกไม้อยู่ภายใน และมีการตั้งตัวบายศรีไว้บานปากชามงาม ๆ จึงเป็นที่มีของชื่อว่าบายศรีปากชาม แต่ถ้าไม่สามารถที่จะหาชามรูปงามมาเพื่อใส่ตัวบายศรีได้เลย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 184
บายศรีกาญจนากร
ตัวบายศรีพับด้วยกลีบหางหงส์ ตกแต่งด้วยดอกคาร์เนชั่นใบปริก ม้วนกรวยเจียงวางตรงกลางชามร้อยมาลัยตุ้มเสียบปลายยอดกรวยแมงดาพับกลีบ 3 ผกา 3 ชั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 154
ถาดบายศรีใบตองพับสามเหลี่ยม
งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย เช่น ใบกล้วยและกาบกล้วยมาประดิษฐ์เป็นบายศรี กระทงดอกไม้ กระทงลอย พานพุ่ม แจกันดอกไม้ ล้วนมาจากสิ่งที่สามารถสูญสลายได้เองตามธรรมชาติ แม้ว่าในปัจจุบันนี้ กระแสทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย แต่งานประดิษฐ์จากใบตองเหล่านี้ก็ยังได้รับการสืบทอด และสืบสานงานฝีมือในแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 809
บายศรีผูกข้อมือ
บายศรีจะมีความสูงที่ 3 ชั้น ถึง 7 ชั้น เป็นบายศรีที่ใช้ในการเริ่มต้นของชีวิตคู่
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 130
บายศรีพรหมประกาศิต
บายศรีพรหมมีหลายแบบ เช่น บายศรีพรหม บายศรีพรหมสี่หน้า บายศรีพรหมประกาศิต ฯลฯ อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ตามแต่ละท้องถิ่น แต่ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ต้องมีแม่ ๑๖ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศ และลูก ๙ นิ้ว จำนวน ๔ ทิศเหมือนกัน ถึงจะเป็นพรหมสี่หน้า ถ้านับด้านใดด้านหนึ่งก็จะมีจำนวน ๑๖ นิ้ว เหมือนกัน
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 311
กระทงดอกไม้กับธูปเทียนแพร
ในการจัดวางเครื่องสักการะที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีการจัดวางสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิด จากความไม่รู้จริงของผู้จัด รวมทั้งผู้ดูแลพิธีการก็เป็นได้ในการจัดวางสิ่งของเครื่องสักการะผิดที่ผิดทาง นั้น จึงกลับกลายเป็นการสื่อแทนความหมายที่ไม่เป็นมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ ดังนั้น ทางสำนักพระราชวังจึงได้ออกเอกสารแนะนำเกี่ยวกับการจัดแท่นพิธีถวายสักการะพระบรม รูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริย์ธิราชเจ้า เมื่อเดือนเมษายน พุทธศักราช 2522 โดยระบุว่า เครื่อง ราชสักการะดอกไม้ธูปเทียนแพที่ถูกต้องและเป็นสิริมงคล นั้นต้องเรียงลำดับ โดยเริ่มจากแพเทียน จะอยู่ล่างสุด วางธูปแพเหนือแพเทียน และวางกระทงดอกไม้บนสุดเหนือแพธูป แต่ที่มักจะทำกัน ผิดๆ คือ จัดวางแพเทียนอยู่เหนือแพธูป ซึ่งจะใช้ในงานอวมงคล คือ งานศพเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 975
บายศรีอภัยทาน
งานประดิษฐ์ดอกไม้ใบตอง เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยที่มีมาช้านาน ใช้ในงานพิธีต่าง ๆ ในสมัยก่อนงานใบตองประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ส่วนประกอบของต่าง ๆ ของต้นกล้วย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 495
บายศรีเทพพนม2
บายศรีทำจากใบตองสดและริบบิ้นโทนสีส้มประดับด้วยดอกบัว/ดาวเรือง กรวยใบตองจับจีบคาดดิ้นเงิน-ทอง
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 189
บายศรีแก้ว ทอง เงิน
บายศรีแก้ว ทอง เงิน ประกอบด้วยพานแก้วขนาดใหญ่-เล็ก วางซ้อนกันขึ้นไปตามลำดับเป็นชั้นๆ รวมเป็นพานบายศรี ๓ ชนิด วางบายศรีแก้วไว้ตรงกลาง บายศรีทองตั้งด้านขวา และบายศรีเงินตั้งด้านซ้าย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 290
บายศรีปากชาม แบบที่ 1
บายศรีปากชามค่อนข้างจะเป็นบายศรีที่มีความสำคัญมากเลยล่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วบายศรีประเภทอื่น ๆ ก็มักจะมีแม่แบบมาจากตัวบายศรีปากชามเลย หรือจะให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ตัวบายศรีปากชามนั้นเป็นแม่แบบให้แก่บายศรีอื่น ๆ นั่นเอง โดยตัวบายศรีปากชามมักจะถูกล้อมรอบไปด้วยใบตองจับจีบเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตกแต่งอยู่รอบ ๆ มีกรวยใบตองม้วนตั้งอยู่บนกลางองค์บายศรี บนยอดกรวยเองก็มีไข่ต้มและดอกไม้ประดับประดาอยู่เต็ม ภายในกรวยม้วนเองนั้นก็มีการบรรจุข้าวตอกและดอกไม้อยู่ภายใน และมีการตั้งตัวบายศรีไว้บานปากชามงาม ๆ จึงเป็นที่มีของชื่อว่าบายศรีปากชาม แต่ถ้าไม่สามารถที่จะหาชามรูปงามมาเพื่อใส่ตัวบายศรีได้เลย
เผยแพร่เมื่อ 16-03-2018 ผู้เช้าชม 136