Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20191118141350

ชื่อเรื่อง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ชื่อเรื่องรอง

Factors Affecting Risk Behaviors of Higher Education Students in the Lower Northeastern Region

ผู้แต่ง

สมบูรณ์ ตันยะ

กิตติ วงษ์ชวลิตกุล

ปี

2561

หัวเรื่อง

พฤติกรรมเสี่ยง

นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีการศึกษา 2559 ในสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจำนวน 877 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับวัดพฤติกรรมเสี่ยงใน 6 ด้านได้แก่ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งเสพติด ด้านเพศ ด้านการพนัน ด้านการดูแลสุขภาพและด้านการเรียน และวัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละ ละเลย ด้านการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่เกินไป ด้านบรรยากาศในการเรียน และด้านสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา แบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นรายด้านอยู่ระหว่าง .642-.911 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) พฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในระดับปานกลาง 1 ด้าน ระดับน้อย 5 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงสูงสุดคือ ด้านการดูแลสุขภาพ รองลงมา เป็นด้านการเรียน ด้านความปลอดภัย และด้านเพศ ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ระดับปานกลาง 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สัมพันธภาพในครอบครัว รองลงมาเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ การอบรม
เลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 3) ตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 7 ตัว สามารถร่วมกันพยากรณ์ ความแปรปรวนของพฤติกรรมเสี่ยงในภาพรวมได้ร้อยละ 16.9 โดยตัวแปรพยากรณ์ที่มีอำนาจในการพยากรณ์สูงสุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่เกินไปส่วนตัวแปรพยากรณ์อื่นๆ มีอำนาจในการพยากรณ์น้อยมาก โดยมีสมการพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Zrisk' = .360**(sup) + .109**(care) -.045(moti) + .035(envi) - .028(study) - .017(value) -.006(rela)

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

20191118141350.pdf