Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191011144236

ชื่อเรื่อง

การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตามพระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่าง ๆ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อเรื่องรอง

Academic Administrators in Seconcary Schools Under the King's Initlative Projects to Increase of Royalty.

ผู้แต่ง

มัลลิกา เพ็ญจันทร์

ปี

2543

หัวเรื่อง

การบริหารงานวิชาการ

ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา - การบริหารงานวิชาการ

โรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการพระราชดำริ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2. เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และผู้ช่วยฝ่ายวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในปีการศึกษา 2543 จำนวน 188 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 94 คน และผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ 94 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้มี การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ผลการวิจัย แสดงให้เห็นสภาพการบริหารงานวิชาการที่สำคัญ คือ โรงเรียนมีการวางแผนงานและจัดสายงานวิชาการชัดเจน มีการจัดตารางสอนและครูเข้าสอน โดยคำนึงถึงวุฒิ วิชาเอก วิชาโท ส่งเสริมการสอนแบบเน้นกระบวนการ กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นเรื่องการประกวดแข่งขันทางด้านวิชาการ มีโครงการพัฒนาครูทางด้านวิชาการ ดำเนินการวัดผลและประเมินผลตามระเบียบ และมีการประเมินผลงานวิชาการแล้วนำผลไปใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน ปัญหาการบริหารงานวิชาการที่สำคัญ คือ การปฏิบัติตามแผนงานวิชาการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การขาดแคลนบุคลากรที่ถนัดเฉพาะเรื่อง ไม่สามารถจัดครูเข้าสอนให้เหมาะสมกับวุฒิและวิชาเอกโท ครูบางคนไม่สนใจที่จะพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการ ครูบางคนขาดทักษะในการเขียนแผนการสอน และขาดการนิเทศติดตามให้การวัดประเมินผลมีประสิทธิภาพ แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่สำคัญ คือ ควรจัดให้มีการประชุมครูอาจารย์เพื่อร่วมกันศึกษาปัญหาหรือความต้องการและวิเคราะห์นโยบายหลักต่างๆ และร่วมกันประมวลเป็นนโยบายของโรงเรียน ควรมีการศึกษาดูงานด้านการบริหารงานวิชาการ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้แก่ครูอาจารย์ผลิตสื่อการเรียนการสอน และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อร่วมกันพิจารณาการจัดตารางสอน การจัดครูอาจารย์เข้าสอน และการจัดครูเข้าสอนแทน

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf