Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20250106095035

ชื่อเรื่อง

รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง โดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

เกตุกาล ทิพย์ทิมพ์วงศ์

มนตรี หลินภู

ขวัญชัย กันทะใจ

บุญเทิด ถนอมจิตร

ปี

2567

หัวเรื่อง

ผู้สูงอายุติดเตียง

ผู้สูงอายุ - การดูแล

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง โดยชุมชนมีส่วนร่วม ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด จ.ตาก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1. ศึกษาสภาพปัญหาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและสาธารณสุข 2. ศึกษาระดับและปัจจัยในการดูแลสุขภาพโดยแบบสอบถามในผู้สูงอายุตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 362 คน 3.สร้างรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ 4.ประเมินผลโดยผู ้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความรู้ผู้ดูแลและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม สนทนากลุ่มและแบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานดวยคาไคสแคว์ ทดสอบความแตกต่างด้วย Paire t-test กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและแรงสนับสนุนทางสัคม ระดับการดูแลและคุณภาพชีวิตอยู ่ในระดับปานกลางร้อยละ 42.54และ 50 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธกับคุณภาพชีวิตไดแกอาชีพ รายได้สุทธิ ความเพียงพอของรายได้ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของชุมชนและ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ การสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียง พัฒนาโดยกิจกรรม 1) การมีส่วนร่วมตัดสินใจ/วางแผน(Decision making) 2) มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการจัดทำบัดดี ้จิตอาสาภาษาถิ่น(Implementation) 3) มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits) 4) มีส่วนร่วมในการประเมินผลปรับปรุง(Evaluation) รวมเป็น DIBE Model ผู้เชี่ยวซาญประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู ่ในระดับมาก ผลการใช้รูปแบบพบว่า ผู้ดูแลมีความรู้เฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนสร้างรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value <.001) ผู้สูงอายุที่ติดเตียงมีคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับสูง

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

R68-62.pdf