Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20241001092639

ชื่อเรื่อง

การประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน หนึ่งอําเภอ หนึ่งอาชีพของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานส$งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดกําแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

The Evaluation of the One District, One Career Community Vocational Training Center Project of Educational Institutes under Kamphaeng Phet the Office of the Non-formal and Informal Education

ผู้แต่ง

สุภาภรณ์ หาญสําเภา

ปี

2567

หัวเรื่อง

การประเมินโครงการ

สถานศึกษา - การบริหาร

โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอําเภอ หนึ่งอาชีพ

สํานักงานส่งเสริมการเรียนรู้

การบริหารงานสถานศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอําเภอ หนึ่งอาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกําแพงเพชร และหาแนวทางพัฒนาโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 205 คน ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา จํานวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจํานวน 11 คน ครู จํานวน 100 คน ผู้เรียน จํานวน 92 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิในการหาแนวทางการพัฒนาโครงการ จํานวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แจกแจงความถี่ (f) และการจัดลําดับ ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอําเภอ หนึ่งอาชีพ ของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกําแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม 3 ด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ รองลงมา ได่แก่ ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ของโครงการ และด้านผลผลิต (Output) ของโครงการตามลําดับ แนวทางพัฒนาโครงการตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 ด้าน สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยนําเข้า สถานศึกษาควรจัดประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหนึ่งอําเภอ หนึ่งอาชีพ แก้ครูและวิทยากรเปIนประจําทุกปีก่อนดําเนินโครงการ 2) ด้านกระบวนการ ผู้บริหารควรประชุมครูและบุคลากรในการวางแผนและการบริหารจัดการ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์วัตถุประสงค์ และแนวทางการดําเนินโครงการ 3) ด้านผลผลิต สถานศึกษาควรจัดทําแบบสํารวจความต้องการเรียนจากประชาชนในพื้นที่ โดยครูสํารวจความพร้อมของผู้เรียนและนําข้อมูลมาจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิทยากรเพื่อให้สอดคล้องกับความพร้อมและความต้องการของผู้เรียนอย่างสูงสุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T68-37.pdf