Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915202835

ชื่อเรื่อง

การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสำหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Creation and efficiency finding a set of teaching geometric models includes teaching material on drawing for Industrial Technology subject for first year students Faculty of Industrial Technology, Kamphaengphet Rajabhat University.

ผู้แต่ง

อานนท์ วงษ์มณี

ปี

2557

หัวเรื่อง

ชุดการเรียนการสอน

ชุดการสอน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=504082

การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ได้กาหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ดังนี้ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ที่เรียนวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในภาคเรียนที่ 1/2557 จานวน 30 คน เครื่องมือที่นามาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยี อุตสาหกรรมสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร พบว่า การสร้างชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีค่าเฉลี่ย (X ) เท่ากับ 4.72 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.35 อยู่ในระดับ ดีมาก 2) ผลการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม พบว่า ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร มีประสิทธิภาพซึ่งมีค่า E1 เท่ากับ 75.83 และค่า E2 เท่ากับ 78.80 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยใช้ชุดการสอนโมเดลเรขาคณิตประกอบการสอนรายวิชาการเขียนแบบสาหรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร พบว่ามีค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ระหว่างเรียนมีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 10.26 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 6.81 และการทดสอบค่าที (t-test) เท่ากับ 40.83 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05