Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20240930103143

ชื่อเรื่อง

แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

ชื่อเรื่องรอง

The Guideline Development of Supply Management of Schools under Tak Primary Educational Service Area Office 2

ผู้แต่ง

พรชนัน อ่องตียะ

ปี

2567

หัวเรื่อง

การบริหารงานพัสดุ

สถานศึกษา - การบริหาร

แนวทางพัฒนา

การเบิกจ่าย

หลักการบริหารพัสดุ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและป8ญหาการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 และ (2) ศึกษาแนวทางพัฒนางานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 กลุ'มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 62 คน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ 62 คน เจ้าหน้าที่ 62 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 186 คน และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์การบริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จด้านการบริหารงานพัสดุ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส'วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว'า (1) สภาพการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู'ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว'าด้านอื่นได้แก่ ด้านการเบิกจ'าย รองลงมาได้แก่ ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการเก็บและการบันทึก ด้านการตรวจสอบ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านการยืม (2) ปัญหาการบริหารงานพัสดุในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 พบปัญหาภาพรวม 8 ด้าน คือ ด้านการวางแผนและกำหนดความต้องการ คือสถานศึกษาไม'มีการกำหนดความต้องการใช้พัสดุจากข้อมูลสถิติการใช้พัสดุในปีที่ผ่านมา ด้านการจัดหาพัสดุ คือ งบประมาณไม'เพียงพอต'อการจัดหาพัสดุ ด้านการเก็บและการบันทึก คือ สถานศึกษาขาดการเก็บรักษาพัสดุในสถานที่ปลอดภัยโดยคำนึงถึงหลักการจัดเก็บที่สะดวกต่อการนำมาใช้งาน ด้านการเบิกจ่ายพัสดุ คือ การเบิกจ่ายพัสดุขาดความสะดวก รวดเร็วและขาดหลักฐานการเบิกจ่ายที่เป็นปัจจุบัน ด้านการยืม คือ สถานศึกษาขาดการลงทะเบียนการยืมและส่งคืนพัสดุที่เป็นลายลักษณ์อักษร ด้านการตรวจสอบ คือไม'มีการตรวจสอบจำนวนพัสดุกับบัญชีคุมพัสดุของสถานศึกษา ด้านการบำรุงรักษา คือ สถานศึกษาขาดการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาครุภัณฑ์แก่บุคลากรในสถานศึกษา ด้านการจำหน่ายพัสดุ คือเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการจำหน่ายพัสดุ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

T68-74.pdf