Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

บทความ/Article

เลขทะเบียน

20231031110957

ชื่อเรื่อง

ประเพณีบุญบั้งไฟสุคิรินกับการดำรงอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในภาคใต้

ชื่อเรื่องรอง

Boon Bang Fai Tradition of Sukkharin with the existence of the only multicultural society in the southern

ผู้แต่ง

ศิริวรรณ เจียรชัชวาลวงศ์

ปี

2563

หัวเรื่อง

บุญบั้งไฟ

การดำรงอยู่

พหุวัฒนธรรม

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

รายละเอียด

การอนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีของคนไทยที่สืบทอดมาอย่างยาวนานของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือชาวอีสานที่สืบเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประเพณีบุญบั้งไฟเกิดจากความเชื่อของชาวอีสานเพื่อต้องการขอฝนกับพญาแถนหรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ชาวบ้านมีความเชื่อว่าพระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกตามฤดูกาล สามารถดลบันดาลให้พืชผลข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ หากทำการบูชาพญาแถนแล้วจะทำให้การทำนาในปีนั้นๆ ได้ผลดี พญาแถนเป็นเทพที่มีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก ชาวบ้านจึงได้มีการจุดบั้งไฟไปบอกพญาแถน เพื่อให้ทราบว่าถึงฤดูทำนาปลูกข้าว แล้วให้พญาแถนได้ช่วยให้ฝนตกลงมาให้เพียงพอต่อการปลูกข้าวของชาวนา หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชาฝนจะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจเกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ การศึกษาบุญบั้งไฟสุคิรินกับการดำรงอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังเกี่ยวกับชนชาวอิสานที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในอำเภอสุคิริน 2) เพื่อศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของประเพณีบุญบั้งไฟสุคิริน 3) เพื่อศึกษาแนวคิดประเพณีวัฒนธรรมบุญบั้งไฟสุคิริน บ้านภูเขาทอง ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาสได้มีพี่น้องชาวอีสานย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากบุกเบิกพื้นที่ทำกินมาตั้งแต่ปี 2518 และได้จัดงานบุญบั้งไฟเพื่อรักษาประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษมาสืบสานในพื้นที่อำเภอสุคิรินมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นการสืบสานประเพณีดั้งเดิมหนึ่งเดียวในภาคใต้ความเป็นอัตลักษณ์ในตนเอง ในพื้นที่ที่มีความเชื่อในศาสนาที่แตกต่างกันแต่ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันสันติสุข มีการช่วยเหลือเกื้อกูลพึ่งพากันและมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงปรากฏการณ์ที่น่าสนใจอย่างมาก

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

A67-119.pdf