Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190915193333

ชื่อเรื่อง

การศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สุงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

อรอนงค์ แจ่มผล

มัณฑนา จริยรัตน์ไพศาล

ปี

2552

หัวเรื่อง

ผู้สูงอายุ - กำแพงเพชร

การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ

สวัสกิการผู้สูงอายุ

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

https://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=13327

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวน 445 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multiple-stage sampling) ดังรายละเอียดจำแนกได้ดังนี้ หัวหน้าฝ่ายเวชกรรมสังคมในโรงพยาบาลจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 1 คน หัวหน้าฝ่ายเวชกรรมสังคมในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่ดูแลงานสวัสดิการสังคม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง จำนวน 5 คน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 10 คน หัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 18 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 242 คน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 159 คน ตัวแปรที่ศึกษาในครั้งนี้ คือ สภาพปัญหา การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร จำแนกออกเป็น1) สภาพปัญหาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชรในด้าน 1.1) การบริหารการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ 1.2)การเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ 1.3) การส่งเสริมผู้สูงอายุ 1.4)การคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ 1.5) การบริการผู้สูงอายุ 1.6) การประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านสูงอายุ 2) ความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชรในด้าน 2.1) การบริหาร การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ 2.2) สุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม 2.3) เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 2.4) การประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัญหาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชรในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ด้านการบริการผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารการดำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุ เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า 1.1 ด้านการบริหารการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ไม่มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี รองลงมา คือ นโยบายดำเนินงานด้านผู้สูงอายุไม่ชัดเจน อันดับสาม คือ งบประมาณในการดำเนินงานตามแผนงาน / โครงการมีน้อย ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการดำเนินงาน 1.2 ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยสำหรับผู้สูงอายุมีน้อย และการส่งเสริมให้ประชาชนทุกวัย เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบผู้สูงอายุมีไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ไม่มีบริการการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และไม่มีการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความจำเป็นของการเตรียมตัวเข้าสู่ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ไม่มีการจัดการศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 1.3 ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การรวมกลุ่มของชุมชนเพื่อจัดทำกิจกรรมเสริมรายได้โดยผู้สูงอายุมีส่วนร่วมมีน้อย รองลงมา คือ ไม่มีการปรับสภาพแวดล้อม สถานที่สาธารณะให้เหมาะสมและปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ เช่น ถนน ทางเดิน อาคาร ห้องสุขา อันดับสาม คือ การสนับสนุนกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุมีไม่เพียงพอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ไม่มีการบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ 1.4 ด้านการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ไม่มีสวนสาธารณะและสนามกีฬาที่เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ไม่มีการปรับสภาพที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและปลอดภัยให้แก่บ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ และอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น แว่นสายตา เครื่องช่วยฟัง รถเข็น เครื่องพยุงตัว อุปกรณ์ช่วยเดิน ฯลฯ มีไม่เพียงพอ อันดับสามคือ สถานที่ในการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ สันทนาการ อาชีพ ความรู้ บริหารร่างกาย กิจกรรมธรรมะ สำหรับผู้สูงอายุมีไม่เพียงพอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ไม่มีการจัดเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ ทุกคน 1.5 ด้านการบริการผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้ายเพื่อไม่ให้เกิดความทรมานและมีภาวะจิตใจที่ดี มีน้อย รองลงมา คือ ยังไม่มีบ้านพักในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่มีความเดือดร้อน ขาดที่พึ่ง อันดับสาม คือ การดูแลผู้สูงอายุหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริการชุมชนเคลื่อนที่ไปในพื้นที่ห่างไกลมีไม่เพียงพอ 1.6 ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุมีน้อย และยังไม่มีการพัฒนาข้อมูลด้านผู้สูงอายุให้เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน 2. ความต้องการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารการดำเนินงาน ด้านผู้สูงอายุ รองลงมา คือ ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า 2.1ด้านการบริหารการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุ รองลงมา คือ องค์กรในชุมชนมีนโยบายดำเนินงานด้านผู้สูงอายุชัดเจนและมีการดำเนินงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีบุคลากรรับผิดชอบดำเนินงานโดยตรง 2.2 ด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีศูนย์บริการสาธารณสุขในชุมชนและมีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น รถเข็น แว่นตา เครื่องช่วยฟัง ฯลฯ รองลงมา คือ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ กรณีที่ผู้สูงอายุอยู่บ้านคนเดียวสามารถโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลจากโรงพยาบาลหรือมูลนิธิเมื่อมีอาการเจ็บป่วยได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีบ้านพักฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ 2.3 ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ รองลงมา คือ มีสวนสาธารณะในชุมชนเป็นที่พักผ่อน ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อันดับสาม คือ มีการปรับสภาพแวดล้อม สถานที่สาธารณะให้เหมาะสมและปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ เช่น ถนน ทางเดิน อาคาร ห้องสุขา และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาให้ความรู้ เรื่องบทบาทและสิทธิของผู้สูงอายุในชุมชน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการจัดกิจกรรมในชุมชนเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันครอบครัว วันพ่อ วันแม่ วันผู้สูงอายุ เป็นต้น 2.4 ด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการพัฒนาข้อมูลด้านผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน และมีการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ ตามลำดับ