Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

งานวิจัย/Research report

เลขทะเบียน

20190906094141

ชื่อเรื่อง

การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ : กรณีศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ของชุมชนในเขตตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

พรเพ็ญ โชชัย

ระมัด โชชัย

เมทินี ทวีผล

ปี

2550

หัวเรื่อง

สีย้อมจากธรรมชาติ

สีย้อมผ้า - การย้อมสี

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย เพื่อศึกษาบริบทกระบวนการการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติของชุมชนและแหล่งวิชาการ เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติที่ได้จากเปลือกมะพร้าวและเปลือกไม้ประดู่ เพื่อศึกษาการย้อมสีในระดับต้นแบบ และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติสู่ชุมชน มีวิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การสอบถามและสัมภาษณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร ในประเด็นที่เป็นการส่งเสริมอาชีพการย้อมเส้นด้ายฝ้ายของชุมชน สอบถามและสัมภาษณ์สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติได้แก่ กลุ่มทอผ้าไหมแก้วพัฒนา บ้านสร้อยสุวรรณ วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ สืบค้นข้อมูลเทคนิคเกี่ยวกับกระบวนย้อมสีธรรมชาติและปัจจัยที่มีผลต่อการย้อมสีธรรมชาติ วัดค่าความเป็นกรด - ด่าง ของน้ำย้อมสี ตรวจหาแทนนิน สารประกอบฟีนอลิก แอนทราควิโนนและเฟลโวนอยด์ วัดค่าความยาวคลื่นที่ดูดกลืนมากที่สุดของสีน้ำย้อมด้วยเครื่องยูวี/วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ ทำการทดลองย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายในห้องปฏิบัติการมีวิธีการประกอบด้วย การย้อมโดยไม่ใช้สารช่วยติดสี การย้อมโดยย้อมสารช่วยติดสีก่อนการย้อมน้ำสี การย้อมโดยย้อมสารช่วยติดสีพร้อมการย้อมน้ำสี การย้อมโดยย้อมสารช่วยติดสีหลังการย้อมน้ำสี ศึกษาการดูดซับสีย้อมโดยเส้นด้ายฝ้าย ศึกษาเฉดสีของเส้นด้ายฝ้ายหลังการย้อม วัดหาค่าเฉดสีในระบบCIELAB ศึกษาความพึงพอใจเฉดสีของเส้นด้ายที่ย้อมได้ทุกกระบวนการโดยใช้เกณฑ์การประเมินความพึงพอใจตาม Likert scale ทดสอบความคงทนต่อการซักฟอกโดยวิธี ISO – 105 – C01 : 1989 และความคงทนต่อแสง โดยวิธี ISO – 105 – B02 : 1994 ศึกษาการย้อมสีระดับต้นแบบ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติสู่ชุมชน ด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชนแล้วประเมินผลการอบรม จัดนิทรรศการแสดงผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.บริบทกระบวนการการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติของชุมชนและแหล่งวิชาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมอาชีพการย้อมเส้นด้ายฝ้าย ได้มีการส่งเสริมอาชีพการย้อมสีผ้าที่เป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และพัฒนาแบบครบวงจร กลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติของ กลุ่มทอผ้าไหมแก้วพัฒนา มีการรวมกลุ่มทอผ้า มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานทำการทอผ้าสืบต่อกัน มีจุดแข็งในเรื่องเกี่ยวกับความพยายามในการศึกษาเรียนรู้ ความสามัคคีของสมาชิกกลุ่ม และมีจุดอ่อนได้แก่ การใช้กระบวนการย้อมตามวิธีการของบรรพบุรุษที่ขาดการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนา ขาดมาตรฐานการตวงวัดปริมาณ และขาดวัตถุดิบที่บริสุทธิ์ 2. สภาวะที่เหมาะสมในการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ สีน้ำย้อมที่สกัดได้ น้ำย้อมสีจากเปลือกมะพร้าวมีสีแดงแกมม่วง น้ำย้อมสีจากเปลือกประดู่มีสีแดงส้ม มีองค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วย แทนนิน สารประกอบฟีนอลิก และแอนทราควิโนนเป็นองค์ประกอบ แต่ไม่มีเฟลโวนอยด์ มีฤทธิ์เป็นกรด การดูดซับสีย้อมโดยเส้นด้ายฝ้าย น้ำย้อมสีจากทั้งเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่มีร้อยละของการถูกดูดซับโดยรวมค่อนข้างต่ำ ค่าสีของเส้นด้ายฝ้ายหลังการย้อม ในระบบ CIELAB ค่าสีของเส้นด้ายฝ้ายที่ย้อมด้วยเปลือกมะพร้าว ส่วนใหญ่มีความสว่าง ไปทางสีขาว และเฉดสีไปทางสีน้ำตาลชมพู ค่าสีของเส้นด้ายฝ้ายที่ย้อมด้วยเปลือกประดู่ ส่วนใหญ่มีความสว่างไปทางสีดำ และเฉดสีไปทางสีน้ำตาล สมาชิกผู้ผลิตผ้าฝ้ายที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติมีความพึงพอใจต่อสีที่ย้อมได้ ความคงทนของสีเส้นด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีจากเปลือกมะพร้าวที่คงทนต่อการซักและแสงได้ดีที่สุด สามารถใช้เป็นต้นแบบได้ 4 ตัวอย่าง ความคงทนของสีเส้นด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีจากเปลือกประดู่ที่คงทนต่อการซักและแสงได้ดีที่สุด สามารถใช้เป็นต้นแบบได้ 12 ตัวอย่าง 3. การย้อมสีระดับต้นแบบ สีของต้นแบบทั้งหมดเหมือนกับการย้อมที่ทำการทดลอง การย้อมในห้องปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้ทำการย้อมในอุตสาหกรรมครัวเรือนได้ 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติสู่ชุมชน โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหมแก้วพัฒนา บ้านสร้อยสุวรรณและนักศึกษาโปรแกรมวิชาเคมีชั้นปีที่ 2 พร้อมกับจัดนิทรรศการแสดงขั้นตอนและสีของเส้นด้ายฝ้ายที่ได้จากการย้อมสีต้นแบบ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 11

11.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 12

12.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 13

13.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 14

14.pdf