Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20190920143007

ชื่อเรื่อง

กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4

ชื่อเรื่องรอง

The strategies for vocational competency development of teachers under the institute of northern vocational education region 4.

ผู้แต่ง

ดัชนีย์ จะวรรณะ

ปี

2560

หัวเรื่อง

สถาบันอาชีวศึกษา

สมรรถนะ

การพัฒนาสมรรถนะครู

ครู - การพัฒนาตนเอง

ครูอาชีพวศึกษา

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพที่จาเป็นของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 2) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 3) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความต้องการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 และ4) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาค เหนือ 4 5) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 โดยมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1) การวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 7 คน 2) การใช้แบบสอบถาม กับครูผู้สอน จานวน 186 คน และการสัมภาษณ์ครูผู้สอน จานวน 12 คน 3) การใช้แบบสอบถาม กับครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา จานวน 272 คน และการสนทนากลุ่มกับครูผู้สอน หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างานบุคลากร ผู้อานวยการ หรือ รองผู้อานวยการสถานศึกษา และตัวแทนสถานประกอบการ จานวน 12 คน 4) การประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อดาเนินการยกร่างกลยุทธ์ กับครูผู้สอน หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างานบุคลากร ผู้อานวยการ หรือ รองผู้อานวยการสถานศึกษา และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการทากลยุทธ์ จานวน 20 คน และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 9 คน 5) การใช้แบบประเมินกลยุทธ์ กับผู้เชี่ยวชาญ จานวน 22 คน ผลการศึกษาพบว่า 1. สมรรถนะทางวิชาชีพที่จาเป็นของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พบว่า มาตรฐานวิชาชีพครูการอาชีวศึกษามุ่งศึกษาใน 4 มาตรฐาน คือ 1) มาตรฐานความรู้และทักษะทางวิชาชีพ 2) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพครูการอาชีวศึกษา 3) มาตรฐานการปฏิบัติงาน และ 4) มาตรฐานการปฏิบัติตน 2. สมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พบว่า ครูอาชีวศึกษาควรได้รับการพัฒนาด้านการวิเคราะห์ตัวเลข ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการสื่อสาร การแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ควรพัฒนาทักษะทางวิชาชีพให้เท่าทัน กับวิทยาการสมัยใหม่ ควรให้ร่วมมือกับคนในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ และควรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนครู โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม 3. สภาพ การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พบว่า ครูควรได้รับการพัฒนาตนเองในด้านประสบการณ์วิชาชีพ ปัญหาของการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา คือ การวางแผนไม่อยู่บนฐานข้อมูล และขาดการให้ความสาคัญกับการนิเทศและติดตามผลการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครู ครูอาชีวศึกษาต้องการให้ตนเองมีส่วนร่วมในการวางแผน และการเลือกวิธีการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของตนเอง ต้องการให้มีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครู และต้องการให้มีการนาผลของการประเมินมาใช้ในการพัฒนา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูอาชีวศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา สถานที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษามีความพร้อมและทันสมัย ชุมชนและสถานประกอบการมีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูอาชีวศึกษา 4. การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พบว่าประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และมาตรการ กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นได้แก่ 1) การจัดทาแผนพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถของครูอาชีวศึกษา 2) พัฒนาการบริหารจัดการงบประมาณสาหรับการพัฒนาครูอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นผลงาน 3) ส่งเสริมการนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษา 4) ปรับปรุงแผนพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 5) ส่งเสริมแรงจูงใจให้ครูอาชีวศึกษามีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 6) สรรหาครูต้นแบบ และครูเครือข่ายด้านการอาชีวศึกษา โดยความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 7) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ และผลงานทางวิชาการของครูอาชีวศึกษาที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ 8) สนับสนุนให้ครูอาชีวศึกษาได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศอย่างสม่าเสมอ 9) ส่งเสริมให้ครูอาชีวศึกษานาความรู้และทักษะทางวิชาชีพตามสาขาวิชาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น 10) พัฒนาคุณสมบัติการเป็นครูอาชีวศึกษา 11) ปรับโครงสร้าง ภาระงานของครูอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับภาระงานของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 12) พัฒนา ระบบและกลไกการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูอาชีวศึกษา ที่เน้นความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพครูการอาชีวศึกษาภายใต้กรอบภาระงานของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 5. การประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุดและระดับมาก

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf