Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20190920133711

ชื่อเรื่อง

กลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

ชื่อเรื่องรอง

Strategy of internal quality assurance system development of Rajabhat universities in the lower northern region.

ผู้แต่ง

รัชนี นิธากร

ปี

2555

หัวเรื่อง

ระบบประกันคุณภาพ

การประกันคุณภาพภายใน

วัฒนธรรมองค์กร

มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของระบบการประกันคุณภาพภายใน กับความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ดาเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของระบบการประกันคุณภาพภายใน กับความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยศึกษากรอบแนวคิดระบบการประกันคุณภาพภายในระดับ อุดมศึกษาจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจานวน 5 คน นามากาหนดการวิจัยจากการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ราชภัฏ การสอบถามบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร 56 คน คณะกรรมการประกันคุณภาพทุกระดับ 190 คน และบุคลากรมหาวิทยาลัย 285 คน และการสัมภาษณ์บุคลากรผู้เกี่ยวข้องในการประกันคุณภาพภายในจานวน 10 คน 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้ข้อมูลจากผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 นามาจัดทาร่างการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมให้ผู้เชี่ยวชาญการดาเนินการประกันคุณภาพและด้านกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างพิจารณาในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทาร่างกลยุทธ์จานวน 10 คน และ ตรวจสอบความถูกต้องของกลยุทธ์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญจานวน 9 คน 3) ประเมินกลยุทธ์ที่ปรับปรุงแล้ว 4 ด้าน คือ ความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ การประกันคุณภาพ และการบริหาร จานวน 23 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. สภาพองค์ประกอบของระบบการประกันคุณภาพภายในที่สาคัญ ได้แก่ ปัจจัยนาเข้า คือ บุคลากร รองลงมา คือ การบริหารจัดการ จุดแข็งที่ปรากฏเด่นชัด คือ การมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่ชัดเจน และมีผู้รับผิดชอบองค์ประกอบที่ชัดเจน จุดที่ควรพัฒนา คือ ระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ กับกระบวนการติดตามตรวจสอบและประเมินผล ด้านความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ คือ ต้องการให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ดีมีคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ โดยมีทั้งการพัฒนาคุณภาพและการประเมินคุณภาพภายในที่ต้องดาเนินการด้วยกลไกที่สร้างคุณภาพให้ดีให้ได้ สาหรับความต้องการด้านปัจจัยนาเข้า คือ ต้องการให้บุคลากรและผู้บริหารให้ความสาคัญหรือปฏิบัติงานปกติด้วยวิถีคุณภาพให้เกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพให้ได้ 2. การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย ราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มี ดังนี้ 2.1 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมของการประกันคุณภาพโดยพบว่ามีจุดแข็ง 13 ข้อ จุดอ่อน 16 ข้อ โอกาส 11 ข้อ และอุปสรรค 8 ข้อ โดยมีการกาหนดวิสัยทัศน์คือมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่พัฒนาศักยภาพสู่สากล ซึ่งประกอบด้วย 3 พันธกิจ 3 เป้าประสงค์ 3 ประเด็นกลยุทธ์ 9 กลยุทธ์ 33 มาตรการ และ 90 ตัวชี้วัด 2.2 กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นประกอบ กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มสมรรถนะบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและรองรับการประกันคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการประกันคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ที่ 4 สร้างความเข้มแข็งของการบริหารจัดการรองรับการประกันคุณภาพการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการประกันคุณภาพภายใน กลยุทธ์ที่ 6 บูรณาการระบบการประกันคุณภาพภายในกับการปฏิบัติงานตามภารกิจของบุคลากร กลยุทธ์ที่ 7 เร่งดาเนินการประเมินผลระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัย กลยุทธ์ที่ 8 ส่งเสริมการประเมินปัจจัย กระบวนการ ผลผลิต และผลย้อนกลับของการประกันคุณภาพการศึกษา และกลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาทุกภารกิจของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร 3. ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่างในด้านความสอดคล้องของวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ประเด็นกลยุทธ์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด มีความสอดคล้องกันในระดับมาก และในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ มาตรการและตัวชี้วัดมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf