Kamphaeng Phet Rajabhat University

เขตข้อมูล รายการ
ฐานข้อมูล

วิทยานิพนธ์/Thesis

เลขทะเบียน

20191030111601

ชื่อเรื่อง

แนวทางการพัฒนาการผลิตกล้วยไข่ของเกษตรกรตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรื่องรอง

Guidelines to develop golden banana production of golden banana growers in Tambon Srakaew. Amphur muang, Kamphaeng Phet province.

ผู้แต่ง

เผด็จ บุญทอง

ปี

2553

หัวเรื่อง

กำแพงเพชร - กล้วยไข่

กล้วยไข่ - การผลิต

สถานที่พิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายละเอียด

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและหาแนวทางพัฒนาการผลิต กล้วยไข่ของเกษตรในตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้แก่ เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ในพื้นที่ตำบลสระแก้ว จำนวน 60 คนและผู้ให้ข้อมูลการสนทนากลุ่มได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ จำนวน 7 คน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 1 คนนักวิชาการเกษตร 2 คน และผู้เชี่ยวชาญในการผลิตกล้วยไข่ 1 คน ผู้ค้ากล้วยไข่ 1 คน รวม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละและการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปลูกกล้วยไข่ของเกษตรกรมีการใช้พันธุ์กำแพงเพชรปลูกเพื่อการค้า ระยะการปลูกส่วนใหญ่จะปลูกระหว่างต้นระหว่างแถว 2×2 เมตร จะมีการตัดแต่งหน่อทุกระยะ การเจริญเติบโตและหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต การให้ปุ๋ยเคมีสำหรับกล้วยไข่ที่ให้ผลผลิต แล้วมี การให้ปุ๋ย 2 ครั้ง ได้แก่ หลังจากการปลูกประมาณ 1 เดือนและหลังการเก็บเกี่ยว 1 เดือน ปุ๋ยเคมีที่ใช้ได้แก่ สูตร 15-15-15, 46-0-0, ใส่ครั้งละ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จะให้มูลไก่และกากชานอ้อย อัตราไร่ละ 1,000 กิโลกรัม การให้น้ำ แบบสูบลาด การจัดการวัชพืชมี 2 วิธี ได้แก่ การใช้วิธีกลร่วมกับสารเคมีและการใช้สารเคมี หรือวิธีกลอย่างใดอย่างหนึ่ง แมลงศัตรูไม่พบ การเก็บเกี่ยวจะใช้ การสังเกตก่อนเก็บผลผลิต ได้แก่ การนับอายุ ดูสีเหลี่ยมของผล ดูขนาดผล และนับวันที่ กล้วยไข่ออกดอกบานถึงวันเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน 2. ปัญหาการปลูกกล้วยไข่ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรขาดความรู้ในวิธีการปลูกกล้วยไข่ที่ถูกต้อง เช่น การตัดแต่งหน่อ,การให้ปุ๋ยเคมี,การให้น้ำและการกำจัดศัตรูพืช มีวัชพืชขึ้นหนาแน่นดินขาดความอุดมสมบรูณ์ 3. แนวทางพัฒนาการผลิตกล้วยไข่มีดังนี้ 1) ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อุดมสมบรูณ์ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ จัดให้มีการปลูกพืชหมุนเวียนหรือการปลูกพืชสลับพร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ 2) คัดเลือก พันธุ์กล้วยไข่ที่เหมาะสมกับตลาดภายในประเทศ คือ พันธ์กำแพงเพชรและควรคัดเลือกหน่อพันธุ์ที่มาจากแหล่งปราศจากโรคและเป็นหน่อพันธุ์ที่อยู่ในระยะใบแคบ 3) ตัดแต่งหน่อหน่อที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งให้หมด 4) การใช้สารเคมีโดยต้องใช้สารเคมีที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของศัตรูพืชหรือใช้สารอินทรีย์ที่สามารถป้องกันกำจัดโรคและแมลง 5) ควรเก็บเกี่ยวเมื่อตัดปลีกล้วยไข่แล้ว 45 วัน เครื่องมือเก็บเกี่ยวผลผลิตกล้วยไข่ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดที่ก้านของเครือ และระวังอย่าให้สัมผัสพื้นดินเพื่อป้องกันการบอบช้ำและปนเปื้อน 6) การขนย้ายจากต้นกล้วยควรใช้คนแบกหามมายังจุดรวบรวมและต้องมีวัสดุหนาและนิ่มวางคั่นระหว่างเครือกล้วยและรองพื้น ต้องวางในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเท เพื่อป้องกันผลกล้วยไข่ช้ำ

ไฟล์เอกสาร ที่ 1

01.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 2

02.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 3

03.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 4

04.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 5

05.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 6

06.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 7

07.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 8

08.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 9

09.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 10

10.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 11

11.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 12

12.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 13

13.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 14

14.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 15

15.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 16

16.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 17

17.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 18

18.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 19

19.pdf

ไฟล์เอกสาร ที่ 20

20.pdf